สิ่งที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรกในการเพาะปลูกต้นไม้ในปัจจุบัน คือการวิเคราะห์เพื่อหาข้อมูลของธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
การวิเคราะห์ดิน
เป็นวิธีการที่ทั่วโลกมีการยอมรับและได้รับความนิยมในการประเมินสถานะความอุดมสมบูรณ์ของดิน
การเก็บตัวอย่างดิน
ต้องคำนึงถึงวิธีการเก็บเป็นสำคัญ เนื่องจากระดับปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในดิน มีความแตกต่างกันออกไป ดังนั้นการเก็บตัวอย่างดินมาวิเคราะห์จึงเป็นหัวใจที่สำคัญที่สุดสำหรับการเพราะปลูก ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
- เก็บตัวอย่างในรูปแบบตัวแซด ( แบบ Zig Zag )
- ควรจะเก็บตัวอย่างดินที่มีลักษณะทางกายภาพของดินที่มีความแตกต่างกันโดยการสังเกตเบื้องต้น
- ระดับความลึกที่ทำการเก็บตัวอย่างอาจขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่จะปลูก
- ในพื้นที่ประมาณ 10-20 ไร่ ควรมีการเก็บตัวอย่างอยู่ที่ 10 -20 จุด
- เวลาที่เหมาะสมในการเก็บตัวอย่างคือช่วงก่อนปลูกพช หรือช่วงฤดูร้อน
- ตัวอย่างดินที่นำมาวิเคราะห์ ควรมีปริมาณหรือน้ำหนักประมาณ 500 กรัม
- ควรมีข้อมูลประวัติการใช้ที่ดินแนบมากับตัวอย่างดินด้วยเช่นกัน
การวิเคราะห์ดินในห้องปฏิบัติการ
ห้องปฏิบัติการของรัฐนั้น สามารถวิเคราะห์สามารถทำการวิเคราะห์หาปริมาณธาตุอาหารพื้ชต่างๆได้อย่างถูกต้อง สำหรับหน่วยงานที่สามารถที่จะรองรับการบริการนี้ได้มีอยู่หลายหน่วยงานทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด อาทิ 1.ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ ศูนย์ฝึกอบรมวิศวกรรมเกษตร ตำบลบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี 2.กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร เขตบางเขน กรุงเทพฯ 3.กองวิเคราะห์ดิน กนมพัฒนาที่ดิน เขตบางเขน กรุงเทพฯ 4.ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 5 ภาควิชาปฐพีวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 6.ภาคปฐพีวิทยาและอนุรักษ์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 7.ศูนย์วิจัยทางด้านการเกษตร ที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค เช่น ศูนย์วิจัยข้าว ศูนย์วิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยพืชสวน เป็นต้น